วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อส่งข้อมูลแบบไม่ใช้สาย

1. ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)

การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่ง แต่ละหาจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30-50 กม. ระยะห่างของแต่ละหอคำนวณง่าย ๆ ได้จาก
สูตร d = 7.14 (1.33h)1/2 กม.
เมื่อ d = ระยะห่างระหว่างหอ h = ความสูงของหอ


การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง(2-10 จิกะเฮิรตซ์) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล

2. การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission)




ที่จริงดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 23,300 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า"สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์ (Down-link)

สื่อการส่งข้อมูล

1. สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นสายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน มี 2 แบบ คือ แบบหนา (thick) และแบบบาง (thin) โดยมากใช้กับสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง ในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกร์รวมสาย เช่น ฮับ เข้ามาช่วย แต่ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบ UTP ซึ่งราคาถูกและมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ดีกว่า
2. สายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนหรือ UTP (Unshielded Twisted-Pair) เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์ แต่มี 8 เส้น ตีเกลียวเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน แต่ไม่มีเปลือกที่เป็นโลหะถัก (shield) หุ้มเหมือนสายโคแอกเชียล จึงมีขนาดกระทัดรัดกว่า แต่ลักษณะการเดินสายจะต้องต่อจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือฮับเท่านั้น ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด เพราะมีราคาถูก ติดตั้งง่าย รวมทั้งสามารถรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความเร็วสูง เช่น 1,000 Mbps หรือเกินกว่านั้น ได้
3. สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวนหรือ STP (Shielded Twisted-Pair) เป็นสายคู่เล็กๆ ตีเกลียวไขว้กันแบบสาย UTP แต่มีฉนวนหรือเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะถัก เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนในแบบเดียวกับสายโคแอกเชียล ถูกนำมาใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าที่จะใช้สาย UTP ได้ หรือใช้กับเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
4. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นสายที่ใช้กับการส่งสัญญาณด้วยแสง ซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษโดยเฉพาะ มีข้อดีตรงที่ส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่มีปัญหาสัญญาณรบกวน แต่มักใช้ในกรณีที่เป็นโครงข่ายหลักเชื่อมระหว่างเครือข่ายย่อย ๆ มากกว่า เช่นในเครือข่ายแบบ FDD (Fiber Distributed Data Interface) ปัจจุบันมีใช้ในระบบเครือข่ายอีเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ Gigabit Ethernet ด้วย